วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของประเทศพม่า

ประเทศพม่า

ประเทศพม่า (อังกฤษ: Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหภาพพม่า[1] (อังกฤษ: Union of Myanmar; Myanmar long form.svg) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า/เมียนมา ส่วนสื่อไทยมักสะกดว่า เมียนมาร์



ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย

มอญ
มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าเมื่อราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของเมียนมาร์

พยู
ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนเมียนมาร์เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี

นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเมียนมาร์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก

เขตแดนในประเทศพม่า

ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมรและพุกาม

อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832

การเมือง

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีออง ซาน นักชาตินิยม และเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ

เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์

ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง : ประเทศพม่าตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง พม่ามีชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับธิเบตและจีน ส่วนทางตะวันออกติดกับลาว และทางตอนใต้ติดกับไทย รูปพรรณสัณฐานเหมือนกับว่าวที่มีหางยาวล้อมรอบเกือกม้าขนาดใหญ่คือแนวเทือกเขามหึมา และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของพม่า และมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดนหิมาลัยทางเหนือของพม่าที่ติดกับธิเบตเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ฮากากาโบ ราซี” 19,314 ฟุต ต่ำลงมาจากแนวเขาเหล่านี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ภายในประเทศพม่า รวมทั้งเขตแห้งแล้งกินอาณาเขตกว้างตอนกลางของพม่า และยังมีที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทางตอนใต้ เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มาจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



การเมืองพม่า : ประชาชนสิ่งที่ถูกทำให้เลือนหายในการเปลี่ยนแปลง
สถานการณ์เรื่องการเมืองพม่าในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างจะคึกคัก และได้รับการสนใจอย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจพม่าของสหรัฐอเมริกา การออกมาแสดงท่าทีให้มีการปล่อยตัวอองซานซูจีจากอาเซียน ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการก่อตั้งอาเซียน
ที่มีแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ทางการเมือง ภายในประเทศสมาชิก ท่าทีของมหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่ถึงขั้นเสนอให้ขับพม่าออกจากสมาชิกอาเซียน
การพยายาม เสนอแผนการพัฒนาประชาธิปไตยหรือ Road Map โดยประเทศไทย ที่มีข้อกังขาจากผู้ติดตามประเด็นการเมืองในพม่าว่าแผนที่ว่าเองหน้าตาเป็นอย่างไร
ใครจะมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง ให้ความสำคัญกับพรรคฝ่ายค้าน และชนกลุ่มน้อยมากน้อยเพียงใด ล่วงเลยมาถึงการปรับเปลี่ยนตำแหน่งทางการเมืองภายในพม่า
หากมองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่ง เพราะแสดงให้เห็นว่าปัญหาพม่าไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาเล็ก ๆ
ที่ผ่านมาแล้วผ่านไปได้อีกต่อไป แต่สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องนั่นคือ ท่าทีของแต่ละฝ่ายเองนั้น มีสักกี่ท่าทีที่มองเห็นถึงประชาชนพม่าอย่างแท้จริง หากนับตั้งแต่เหตุการณ์
การเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1988 และการเลือกตั้งในปี 1990 สองเหตุการณ์การนี้ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์
ของประชาชนพม่าอย่างแท้จริงที่ปรารถนาจะขอเป็นผู้มีส่วนกำหนดอนาคต ของตนเองทางการเมือง วันนี้จะสักกี่คนที่ตระหนักถึงเจตนารมณ์นั้นอย่างแท้จริง
หลายครั้งหลายหนที่การเมืองในโลกใบนี้หยิบยกประชาชนขึ้นมาอ้าง สิ่งที่น่าสงสัยคือ วันนี้ตัวตนของประชาชนจริง ๆ นั้นดำรงอยู่ในความเคลื่อนไหวนั้น ๆ จริงหรือไม่
หรือถูกนำมากล่าวอ้างและเลือนหายไปในกาลต่อมา
วันนี้ประชาชนทั้งหลายอาจจะต้องมาทบทวนกันอย่างจริงจังเสียทีว่า ตัวตนของเราเองดำรงอยู่ตรงไหนของการเคลื่อนไหวทางการเมือง
กรณีพม่าเองอาจจะเป็นจุดตั้งต้นที่ดีให้เราได้ทบทวนและค่อย ๆ เริ่มปรากฏตัวให้เห็นเจตนารมณ์ของประชาชน เริ่มแสดงให้เห็นว่าในระบอบการเมืองต่าง ๆ นั้น
ประชาชนยังดำรงอยู่อย่างมีตัวตน
อ้างอิงมาจาก http://gotoknow.org/blog/migrantworkers/16022


การเลือกตั้งในพม่าและประชาคม ASEAN:มุมมองทางภูมิรัฐศาสตร์ โดย สุรพงษ์ ชัยนาม
สุรพงษ์ชี้เลือกตั้งพม่า “มีดีกว่าไม่มี” เชื่อมพม่ากับบริบทโลก จีนได้ประโยชน์ ขณะอเมริกาต้องการวิธีละมุนละม่อม เป็นการต่ออายุรัฐบาลทหาร ขณะที่กลไกอาเซียนยังล้มเหลว
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2553 ที่คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) นายสุรพงษ์ ชัยนาม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเอกอัคราชทูต 5 ประเทศในเอเซีย ยุโรปและแอฟริกา นักเขียนหนังสือและบทความเกี่ยวกับ ASEAN และประชาธิปไตยในพม่า บรรยายเรื่อง การเลือกตั้งในพม่าและประชาคม ASEAN: ในมุมมองภูมิรัฐศาสตร์
นายสุรพงษ์วิเคราะห์สถานการณ์การเลือกตั้งของพม่าที่คาดว่าจะมีขึ้นอย่างเร็วไม่เกินปลายปี 2553 ว่าการจัดการเลือกตั้งของพม่ามิได้เกิดจากความต้องการของรัฐบาลทหารพม่าโดยตรง หากเป็นแรงผลักดันจากภายนอก กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับต่างๆ เช่น อียู อาเซียน ที่เกิดขึ้นใหม่หลังยุคสงครามเย็น ซึ่งพม่าต้องเข้าไปเกี่ยวข้องหลังจากเริ่มเปิดประตูให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
ดังนั้น การเลือกตั้งพม่าจะต้องวิเคราะห์จากบริบทต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่เชื่อมโยงกันด้วย
นายสุรพงษ์กล่าวเพิ่มว่า ประเทศจีนที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับพม่านั้นมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้พม่าจัดการเลือกตั้งเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของตนเองและสร้างความชอบธรรมแก่พม่า นอกจากนี้ บริบททางเศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบันต่างมีส่วนเอื้อให้พม่าจัดการเลือกตั้งขึ้น ประการแรก คือ ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ไม่ใช้นโยบายทุบโต๊ะเหมือนรัฐบาลชุดก่อน เช่น กรณีอีรัก หรืออิหร่าน
แต่เป็นการหันมาเจรจา ตามแนวคิดโลกของการพึ่งพา คือปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของประเทศต่างๆในโลก เช่น ปัญหาก่อการร้าย ที่สหรัฐอเมริกากำลังประสบอยู่
ประการที่สอง กว่า10 ปี ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาที่สหรัฐฯและสหภาพยุโรป ใช้นโนบาย carrot and stick กับรัฐบาลทหารพม่า คือหากทำตัวดีๆ ก็จะให้ขนม หากทำตัวไม่ดีก็จะโดนลงโทษ รวมถึงการคว่ำบาตร อย่างไรก็ตาม
การใช้นโยบายนี้กับประเทศสังคมนิยมหรือเผด็จการไม่ได้ผล เพราะว่ารัฐบาลไม่เดือดร้อน คนที่เดือดร้อนคือประชาชน และอีกทั้งพม่ายังมีไพ่อีกหลายใบ ที่ใช้สลับไปมาเพื่อถ่วงดุลและต่อรองกับประเทศต่างๆ ที่เข้ามาตักตวงผลประโยชน์ทางทรัพยากรจากพม่า เช่น จีน อินเดีย สหภาพยุโรป อาเซียน และสหรัฐอเมริกา หากมีการผลักดันให้การเลือกตั้งเกิดขึ้น ประเทศเหล่านี้ก็จะไม่เสียหน้าจากการที่หน้าฉากประณามระบบการปกครองเผด็จการทหาร แต่ว่าหลังฉากตักตวงผลประโยชน์จากพม่า
ประการที่สาม ปัจจุบันโลกไม่ได้แบ่งเป็นโลกคอมมิวนิสต์หรือว่าโลกของเสรีประชาธิปไตย แต่ว่าเป็นโลกของเสรีนิยมและเศรษฐกิจเสรีนิยม ซึ่งก็ไม่ต้องการให้สังคมนิยมหรือเผด็จการมาท้าทาย นโยบายต่อกรที่ดีที่สุดคือ การทำให้ทั้งโลกเป็นเสรีนิยมและมีเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดยการ “ทำให้ทุกประเทศมีเศรษฐกิจที่แปรรูปทั้งหมดผ่านการเลือกตั้ง ไม่ว่าการเลือกตั้งนั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่ก็ตาม แต่ว่ามันได้ทำให้ทุนนิยมเข้าไปได้” นายสุรพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม นายสุรพงษ์มองว่า พม่าเองก็ฉวยใช้โอกาสนี้จัดการเลือกตั้งขึ้น การเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพม่าต้องการประชาธิปไตยหรือต้องการพัฒนาประเทศ แต่ว่าเป็นเรื่องการหาทางออกท่ามกลางความกดดันเพื่อให้ ‘ระบบการปกครองโดยทหารของพม่าอยู่รอดได้’
“การที่พม่าจัดการเลือกตั้งไม่ใช่เพระว่าจู่ๆ ต้องการประชาธิปไตย แต่เพราะว่าหัวใจหลักของรัฐบาลพม่าคือการอยู่รอด และตอนนี้เขาต้องหาทางออก คือการเลือกตั้งที่เขามั่นใจว่าเขาชนะและได้รับความชอบธรรม ซึ่งก็คือประชาธิปไตย ดังนั้น การเลือกตั้งจึงไม่ใช่เรื่องของการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม แต่เป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลทหารพม่าอยู่ได้นานขึ้น”
นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า เมื่อพม่าเปิดให้มีการเลือกตั้งและเมื่อฝ่ายค้านที่เข้าสู่สภามาบั่นทอนความมั่นคงของรัฐบาลทหาร อาจจะมีรัฐประหารตามมา สิ่งที่อยากฝากไว้ คือ “อย่าคาดหวังว่าหากเป็นอย่างนี้ไม่มีดีกว่า ไม่ใช่ แต่ว่าการมีดีกว่าไม่มี เพราะว่า 50 ปีที่ผ่านมาของพม่ามีการเปลี่ยนแปลง แต่ว่ายิ่งเปลี่ยนก็ยิ่งเหมือนเดิม”
นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ยังวิเคราะห์ถึงบทบาทของอาเซียนต่อพม่าที่เข้ามาเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 1997 ว่ายังไม่มีนโยบายร่วมเกี่ยวกับพม่า แต่ละประเทศมองนโยบายต่อพม่าต่างกันเพราะว่าผลประโยชน์และผลกระทบแตกต่างกัน ถึงแม้พม่าจะทำตัวอย่างไร อาเซียนเองก็ไม่สามารถว่าอะไรพม่าได้ เนื่องจากถือเป็นเรื่องภายในไม่ก้าวก่ายกันและกัน ที่สำคัญกฎบัตรของอาเซียนมีข้อบกพร่อง คือ 1. ไม่มีมาตราไหนที่ระบุการทำโทษสมาชิกที่ละเมิดกฎบัตร อย่างกรณีพม่าทำให้อาเซียนเสียภาพพจน์ 2. ไม่มีมาตราไหนที่กำหนดคุณสมบัติในการรับสมาชิก เพียงแต่ขอให้เป็นประเทศในภูมิภาค ต่างจากของสหภาพยุโรปที่จะต้องมีการคัดกรองคุณสมบัตรสมาชิก 3. ใช้ระบบฉันทามติ ไม่ใช่เสียงข้างมาก ซึ่งหลายประเทศในอาเซียนที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้จริงสนับสนุนพม่าอยู่ 4. กฎบัตรไม่มีการผูกมัด จะละเมิดเมื่อใดก็ได้ ทำให้ท่าทีของอาเซียนที่มีต่อการเลือกตั้งในพม่า คือ แสดงความหวังว่าการเลือกตั้งในพม่าที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้เสียหน้าเท่านั้นเอง
“การเลือกตั้งในพม่า เป็นทางออกที่อาเซียนไม่ตำหนิ แต่แสดงความหวังว่าการเลือกตั้งจะโปร่งใส เปิดโอกาสให้กับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม เป็นยุทธศาสตร์การหาทางออกแบบไม่ให้ตัวเองต้องเสียหน้า รวมถึงสหรัฐฯและไทย ซึ่งหากไม่เป็นไปตามนั้น ก็จะได้พูดหน้าฉากว่าตนเองได้วิจารณ์แล้ว แต่ว่าไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ก็ให้ถือว่าเป็นก้าวเล็กๆ ที่ดีกว่าไม่มี แม้จะมีข้อบกพร่อง เราต้องให้โอกาสพม่าและเขาจะปรับตัวเองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดตัวเองมากขึ้น”
นายสุรพงษ์กล่าวสรุปตอนท้ายในเรื่องนี้ว่า การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในพม่าเป็นความพยายามของระบอบเผด็จการทหารพม่าเพื่อหวังลดกระแสกดดันจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งความชอบธรรมแก่ระบอบเผด็จการทหารพม่าผ่านการเลือกตั้ง(ที่ทางฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่ามั่นใจว่าจะชนะ) เป็นวิธีการสร้างความมั่นคงและยืดอายุให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่า ไม่ใช่เพื่อเปิดโอกาสให้พม่ากลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยดังที่เคยมีมาก่อนการรัฐประหารของนายพลเนวิน เมื่อพ.ศ.๒๕๐๕ หากแต่การจัดให้มีการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นไปเพื่อความมั่นคงและความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่าเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในพม่าครั้งนี้หาใช่จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาร้ายแรงต่างๆที่มีในพม่า ตรงกันข้าม กลับจะเป็นการสะสมหมักหมมปัญหาต่างๆมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นวิธีการที่จะสร้างสภาพการณ์เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีทางออก โดยไม่มีฝ่ายใดเสียหน้า (win-win situation) เปิดโอกาสให้ทุกประเทศสามารถเข้าไปแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์ด้านต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ) ในพม่าอย่างไม่ต้องรู้สึกตะขิดตะขวงใจ เพราะสามารถอ้างได้ว่า บัดนี้พม่าได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยในทางเป็นจริงขึ้นมาแล้ว โดยให้ถือว่าการจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งนี้(แม้เป็นการเลือกตั้งที่ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งไม่มีเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมแก่ทุกพรรคการเมือง) เป็นก้าวเล็กๆ ที่สำคัญที่จะให้ประชาธิปไตยสามารถงอกเงยได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นายสุรพงษ์ได้กล่าวเตือนอีกด้วยว่า หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าจะชนะอย่างท่วมท้น แต่หากเมื่อใดที่การดำเนินการของฝ่ายค้านถูกฝ่ายทหารพม่ามองว่าเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐบาลทหารพม่า ฝ่ายทหารพม่ามีแนวโน้มสูงที่จะกระทำการรัฐประหารอีก เพื่อสามารถกลับมาผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จเช่นเดิม หรือหากฝ่ายค้านชนะเลือกตั้ง ยิ่งเป็นที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าฝ่ายทหารพม่าจะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และจะกระทำการรัฐประหารอย่างแน่นอนที่สุด (อย่างที่เคยทำมาแล้วเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓ เมื่อครั้งที่พรรคเอ็นแอลดี(NLD) ของนางอองซาน ซูจีชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น)

TAI FREEDOM NEWS

แหล่งอ้างอิง http://www.taifreedom.com/tha/index.php?option=com_content&view=article&id=821:2010-08-09-03-04-36&catid=38:2009-01-19-07-10-59&Itemid=78


ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศพม่า

อาจจะกล่าวได้ว่าระบอบการปกครองในพม่านั้นมีการปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ไม่ น้อยเพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่รอดได้ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็ว อย่างในปัจจุบัน ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของการเมืองพม่าจากเดิมที่มีทหารปกครองเต็มรูป แบบ กองทัพพม่าก็กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงโฉมตัวเองจากตัวแสดงหน้าฉากมา เป็นผู้กำกับ โดยที่ระยะแรก ผู้เล่นก็คือทหารเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนเครื่องทรงแบบใหม่ แต่อย่างไรเสียก็หนีไม่พ้นที่ประเทศพม่าจะต้องมีทหารเป็นใหญ่ในสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง แม้ว่าพม่าแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมากมายเลยในระยะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พม่าไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือ อ่านง่าย ไปเสียหมด ตรงกันข้าม ตลอดระยะเวลาของความล่าช้าจนเสมือนหยุดนิ่ง พม่ากลับมีเรื่องน่าติดตามไม่น้อย หลายเรื่องเป็นความลับที่คนข้างนอกไม่ค่อยรู้ แม้แต่คนพม่าเองบางครั้งยังอดสงสัยไม่ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศตัวเอง ทำไมถึงได้เป็นอยู่อย่างนี้ชั่วนาตาปี ไม่มีทางออก หรือ ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนกันแน่พยายามจะตอบคำถามทุกอย่างที่เป็นปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับพม่า พม่าเป็นอะไรที่เข้าใจยากที่สุดในโลกประเทศหนึ่งต่อจากเกาหลีเหนือ ประเทศนี้จะปรากฏตัวต่อโลกก็ต่อเมือเจอวิกฤต และปัญหาของพม่านั้นคงทนและเป็นโศกนาฏกรรมเสมอ ด้วยความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ขนาด ที่ตั้งและศักยภาพ ประเทศพม่าน่าจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่าง ประเทศ แต่ทว่าประเทศพม่ากลับเป็นที่รู้จักดีเฉพาะในหมู่ผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ เท่านั้น แต่รวมๆแล้วนี่ก็คือพม่าที่ทัศนคติของคนไทยและชาวโลก

คลิบวิดิโอในการสัมภาษณ์ไทยกับพม่าในความคิดเห็นของนิสิต


งาน - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่



งาน1 - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่